วันพุธที่ 16  สิงหาคม   2560
          โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดเทียนดัด จัดกิจกรรมนำนักเรียนระดับชั้นมัธมศึกษาปีที่ 1-2-3  ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดนครปฐม ก่อนออกเดินทาง นางเสาวลักษณ์  อินแสน  ผู้อำนวยการโรงเไปรียนเทศบาล ๑ วัดเทียนดัด ได้ตรวจตราความเรียบร้อย และสั่งการครูควบคุมให้เข้มงวดกวดขันเรื่องมารยาทการเข้าชมแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมถึงดูแลความปลอดภัยทั้งในระหว่างการเดินทางและระหว่างการเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้ เมื่อไดไ้เวลาแปดนาฬิกาจึงให้ออกเดินทางได้ โดยจุดหมายแรกคือเข้าศึกษาแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์องค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อเดินทางไปถึงองค์พระปฐมเจดีย์เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์ได้นำนักเรียนเข้าไปนั่งฟังการบรรยายเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาขององค์พระปฐมเจดีย์ พร้อมทั้งได้นำนักเรียนเดินชมจุดสำคัญๆ ในบริเวณองค์พระเจดีย์ ซึ่งมีหลายจุดที่สำคัญได้แก่ องค์พระปฐมเจดีย์ องค์พระร่วงโรจนฤทธิ์ d เป็นต้น สำหรับองค์พระปฐมเจดีย์มีประวัติดังนี้
         พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็นมหาธาตุหลวง ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4) มีพระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราชเดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิมมีลักษณะทรงโอคว่ำหรือทรงมะนาวผ่าซีกแบบเดียวกับพระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ มีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของพระมหาเถรศรีศรัทธา อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานนามใหม่ว่าพระปฐมเจดีย์
          เมื่อ พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมา ได้เสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ได้ทอดพระเนตรพระพุทธรูปเก่าแก่หลายองค์ โดยเฉพาะองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย มีพุทธลักษณะงดงามต้องพระราชหฤทัย แต่องค์พระชำรุดเสียหายมาก ยังคงเหลืออยู่แต่พระเศียรกับพระหัตถ์ข้างหนึ่งและพระบาท พอสันนิษฐานได้ว่าเป็นปางห้ามญาติ จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วใช้ช่างปั้นขึ้นให้เต็มองค์  ครั้นเมื่อพระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการหล่อปฏิสังขรณ์ และดำเนินการจัดหาช่างทำการปั้นหุ่นสถาปนาขึ้นให้บริบูรณ์เต็มองค์พระพุทธรูป เมื่อการปั้นพระพุทธรูปนั้นบริบูรณ์เสร็จ เป็นอันจะเททองหล่อได้แล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีสถาปนาพระพุทธรูปพระองค์นั้นที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งเป็นกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา หล่อเสร็จได้องค์พระสูงแต่พระบาทถึงพระเกศ 12 ศอก 4 นิ้ว แล้วโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญออกจากกรุงเทพฯ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2457 เพื่อไปประดิษฐานยังพระวิหารพระปฐมเจดีย์ เจ้าพนักงานจัดการตกแต่งต่อมาจนแล้วเสร็จในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนิยบพิตร์"
          พระราชวังสนามจันทร์เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า"เนินปราสาท" เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการพระปฐมเจดีย์ และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต
          พระราชวังใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี หลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็นพระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นแม่งาน และสร้างเสร็จเมื่อปีพ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์" ตามชื่อสระน้ำโบราณหน้าโบสถ์พราหมณ์ (ปัจจุบันไม่มีโบสถ์พราหมณ์เหลืออยู่แล้ว) "สระน้ำจันทร์" หรือ "สระบัว"
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชพินัยกรรมแสดงพระราชประสงค์ยกพระราชวังสนามจันทร์ให้เป็นสถานที่ตั้งของโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยมีใจความว่า "บรรดาที่ดินตึกรามทั้งใหญ่ น้อย ที่รวมอยู่ในเขตซึ่งเรียกว่า "พระราชวังสนามจันทร์" เป็นสมบัติส่วนตัวของข้าพเจ้าโดยแท้ไม่ได้รับมฤดกมาจากสมเด็จพระบรมชนกนารถมิได้ ข้าพเจ้าได้เก็บทุนในตำแหน่งหน้าที่พระยุพราชและทุนอื่น ๆ สร้างที่สนามจันทร์ และสร้างพระที่นั่งซึ่งเรียกว่า พระพิมานประฐม นั้นขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อข้าพเจ้าได้ราชสมบัติแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เอาเงินพระคลังข้างที่ทำนุบำรุงที่นี้ตลอดมาเป็นส่วนตัวทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจะเอาที่พระราชวังสนามจันทร์ไปรวมเข้ากับกองมรดกใหญ่นั้นหาควรไม่ ข้าพเจ้ามีสิทธิ์ตามกฎหมายเหมือนสามัญชน ที่จะยกที่นี้ให้แก่ผู้ใดก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสิ้นตัวข้าพเจ้าไปแล้ว ข้าพเจ้าขอยกที่นี้ให้แก่รัฐบาลสยามเป็นสิทธิขาด เพื่อทำเป็นโรงเรียนนายร้อยทหารบก"
       ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์  https://th.wikipedia.org/wiki/
 

โรงเรียนเทศบาล๑วัดเทียนดัด(นครผลพิทยาคาร)
๑/๑ หมู่ ๑ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๑๐ โทร ๐๒-๔๒๙๐๗๗๗

สร้างสรรค์โดย : กุลวิณ ฐานะกอง

 
ไปทั ต.